Leaderboard Ad

ห้องหอประวัติ

0

“ เขียวธงขจี ก่อเกิดไมตรีสามัคคีมั่น
สถานเรียนเกษตรนั้น เราผูกพันบูชา
เขียวนาป่าไพร
แผ่นดินถิ่นไทยไพบูลย์หนักหนา
เพราะไทยผลิตค้า ทุกแหล่งฟ้าหล้าอิ่มเอม
แม้เหนื่อยกาย ใจสำราญ เสร็จกิจการงานเกษตรเกษม

ล้วนปรีดิ์เปรมนำวิชา สร้างชาติสร้างตนรวมแรงรวมใจ
จะจงรัก จอมจักรินทร์อีกแดนแผ่นดินทำกินเก็บผล
พระคุณเกษตรล้น รักเปี่ยมท้นดวงจิตเอย”

ส่วนที่ 1 เกษตรศาสตร์ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ด้วยพระราชภารกิจและพระราชประสงค์ต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2545 ตลอดจนวิวัฒนาการแรกเริ่มจากโรงเรียนช่างไหมจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ซึ่งสามบูรพาจารย์ (พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และหลวงอิงคศรีกสิการ) บุคคลผู้เป็นแก้วเกษตรเป็นผู้วางรากฐานการก่อตั้งโดยมีนายกสภามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัย

ส่วนที่ 2 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

60 ปี กับการเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพในการขยายวิทยาเขตอีก 6 วิทยาเขต และวิถีชีวิตของชาว มก. อาทิ การรับน้องใหม่ การแต่งกาย การแข่งขันกีฬา ฯลฯ โดยแบ่งการนำเสนอเป็นช่วงเวลาละ 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 ถึงปี พ.ศ. 2545 อีกทั้งวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึงปี พ.ศ.2548 ในการตอบสนองคุณแก่แผ่นดินอย่างไม่หยุดยั้ง

ส่วนที่ 3 7 วิทยาเขต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พัฒนาและกระจายโอกาสทางการศึกษาโดยการขยายวิทยาเขตต่างๆ ออกไปสู่ภูมิภาคทั่วทั้งประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันได้มีวิทยาเขตทั้งหมด 7 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี วิทยาเขตลพบุรี และวิทยาเขตกระบี่

ส่วนที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาวจังหวัดสกลนคร ประกอบกับความพร้อมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกาศแต่งตั้ง “คณะกรรมการจัดตั้งวิทยาเขตสกลนคร” เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2538 จุดประสงค์เพื่อเป็นวิทยาเขตสารสนเทศ และรับนิสิตโควตาในพื้นที่ 6 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อุดรธานี และสกลนคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อวิทยาเขตว่า “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร” เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2539
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารบริหารซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของวิทยาเขตฯ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้า พัชรกิติยาภาและพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณรีนารีรัตน์ เสด็จฯเปิดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ณ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (อาคาร 9) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

ส่วนที่ 5 เอกสารจดหมายเหตุของวิทยาเขตฯ

นิทรรศการในรูปแบบตู้กระจกแสดงเอกสาร สิ่งของ และวัตถุสำคัญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่รวบรวมไว้ รวมถึงที่ได้รับบริจาคจากคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2486 จนถึงปัจจุบัน

ชมห้องหอประวัติออนไลน์ 360 องศา

เวลาเปิดเข้าชม จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดบริการ

***** เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย *****

หมายเหตุ : กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะหรือเข้าชมนอกเวลาราชการ กรุณาติดต่อ

หน่วยหอจดหมายเหตุและองค์ความรู้ งานห้องสมุด

โทรศัพท์ : 042-725000 ต่อ 9011

แชร์ :

ข้อมูลผู้เขียน

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า