Leaderboard Ad

ห้องพิพิธภัณฑ์ดินลูกรัง

0

ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาดินลูกรัง โดยให้กระทุ้งชั้นหินลูกรัง แล้วนำดินชั้นล่าง
ขึ้นมาผสมกับดินลูกรังข้างบนแล้วไถกลบ เชื่อว่าไม่เกิน 2 ปี สามารถปลูกพืชได้

ส่วนที่ 1    ดินในโลก ทรัพยากรดินของประเทศไทยและทรัพยากรดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศที่ มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไป  ซึ่งดินในโลกนี้มีหลายร้อยพันชนิด    นักวิทยาศาสตร์ทางดินได้สำรวจศึกษาสมบัติของดินแล้วจัดเป็นหมวด หมู่ได้เช่นเดียวกับการจำแนกพืชหรือสัตว์ จากการรวบรวมข้อมูลของกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้จำแนกดินในโลกไว้
12  อันดับ (Order)
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตสภาพภูมิประเทศที่เป็นเขตร้อน ดินส่วนใหญ่ที่พบเป็นดินที่มีการพัฒนาการค่อนข้างสูงถึงสูง ดินแต่ละภาคของประเทศแตกต่างกันออกไป ทำให้ศักยภาพในด้านพัฒนาการทางการ เกษตรแตกต่างกันออกไปด้วย และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงที่มีลักษณะคล้ายแอ่งกะทะหงาย ซึ่งลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อย โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 130 – 250 เมตร บริเวณตอนกลางของภาคมีเทือกเขา ภูพานพาดยาวตั้งแต่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภาค มีพื้นที่บริเวณด้านเหนือและด้านตะวันออกเฉียงเหนือของภาคลาดเอียงสู่แม่น้ำโขง เรียกบริเวณนี้ว่า แอ่งสกลนคร มีลำน้ำสายสั้นๆ เช่น   ลำน้ำเลย ลำน้ำสงคราม ห้วยหลวง ลำน้ำก่ำ ลำน้ำอูน  และลำน้ำพุง   ไหลลงแม่น้ำโขง ส่วนด้านทิศใต้ของเทือกเขาภูพาน มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ เรียกว่า แอ่งโคราช และมีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี

ส่วนที่ 2   ดินลูกรัง

ดินลูกรังที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ชุดดินเพ็ญ ชุดดินอ้น ชุดดินปลาปาก ชุดดินโพนพิสัย ชุดดินเชียงคาน และชุดดินแม่ริม  ซึ่งในปัจจุบันดินลูกรังสามารถใช้ในการปลูกพืชได้ ถึงแม้จะได้ผลผลิตค่อน ข้างต่ำเมื่อเทียบกับดินอื่นๆ แต่หากมีการวางแผนและการจัดการที่เหมาะ สมก็สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการเกษตรได้  เช่น  ใช้ในการทำนา  ใช้ปลูกพืชไร่  ใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์  หรือใช้ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

ส่วนที่ 3   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับดินลูกรัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับดิน พระองค์ทรงเห็นว่าดินเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญเช่นเดียวกับน้ำ ในส่วนของดินลูกรังนั้น การแก้ไขตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน มีดังนี้ สร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำหลักๆ เพื่อกักน้ำและรักษาความชุ่มชื้นของดิน ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก และการปลูกพืชตระกูลถั่ว ปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันไม่ให้ดินถูกทำลายและพังทลาย ลดปริมาณน้ำที่ไหลบ่าหน้าดิน

ส่วนที่ 4   ทรัพยากรดินในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

สภาพพื้นที่ของวิทยาเขตฯ มีลักษณะเป็นเนินต่ำค่อนข้างราบ เรียบ มีความลาดชันของพื้นที่ประมาณ 0 – 2 เปอร์เซ็นต์ โดยด้านตะวันตกเฉียงเหนือจะมีความลาดเอียงมากกว่าด้านอื่นๆ เล็กน้อย เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการปรับระดับตามกระบวนการธรรมชาติ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 160 – 178 เมตร ซึ่งจากการสำรวจจัดทำแผนที่ดิน พบว่ามีดินอยู่ 7 ประเภท แบ่งออกเป็น 4 ชุดดิน (Soil Series) และ 3 ดินคล้าย (Soil Variants)
1. ชุดดินเชียงราย มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
2. ชุดดินเพ็ญ มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
3. ชุดดินโพนพิสัย มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนลูกรัง
4. ดินโพนพิสัยที่มีธาตุเป็นด่างมาก มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนลูกรัง
5. ชุดดินสกล มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนลูกรัง
6. ดินสกลที่มีธาตุเป็นด่างมาก มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนลูกรัง
7. ดินสกลที่พบชั้นศิลาแลงในระดับลึกปานกลาง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนลูกรัง

ส่วนที่ 5 วัฒนธรรมอีสานกับศิลาแลง

ศิลาแลงมีสมบัติแข็งและทนทาน ชาวอีสานจึงนำมาใช้ในการก่อสร้าง เกิดเป็นโบราณสถานซึ่งเป็นหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสะท้อนภูมิปัญญาของชาวอีสานได้เป็นอย่างดี  เช่น

พระธาตุภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร
เป็นโบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทขอม
สร้างด้วยหินทรายตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง

 

ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร
เป็นพระธาตุประกอบด้วยปรางค์องค์เดียว
สร้างด้วยหินทรายบนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่

 

 


พระธาตุดุม
จังหวัดสกลนคร
สร้างด้วยศิลาแลงสมัยเดียวกับพระธาตุนารายณ์เจงเวง แต่องค์ปราสาทเล็กกว่ามีเพียงยอดเดียวไม่มีฐานรองรับ


กู่เปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
องค์ปรางค์ปราสาท สร้างด้วย หินทรายบนฐานศิลาแลง

 

 

ชมห้องพิพิธภัณฑ์ดินลูกรังออนไลน์ 360 องศา

เวลาเปิดเข้าชม จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดบริการ

***** เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย *****

หมายเหตุ : กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะหรือเข้าชมนอกเวลาราชการ กรุณาติดต่อ

หน่วยหอจดหมายเหตุและองค์ความรู้ งานห้องสมุด

โทรศัพท์ : 042-725000 ต่อ 9011

แชร์ :

ข้อมูลผู้เขียน

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า